วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน





อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ครอบคลุมพื้นที่เทือกเขาสูงตอนปลายแห่งทิวเขาหลวงพระบาง ประกอบด้วยผืนป่าสมบูรณ์ ถ้ำขนาดใหญ่ น้ำตก และจุดชมทะเลหมอก อยู่ในท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา



อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน, เที่ยวน่าน, อุทยานน่าน, แอ่วน่าน, 
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน 


และพื้นที่โดยรอบอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว และป่าน้ำสวด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน พบว่ายังมีสภาพสมบูรณ์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารลุ่มน้ำ ชั้น 1 เอ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เนื้อที่ประมาณ 280,000 ไร่ อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน








ลักษณะภูมิประเทศ 


เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ คล้ายรูปตัว T ตัวเขียนใหญ่ในภาษาอังกฤษ ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300-1,752 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดดอยจี๋ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,752 เมตร เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของลุ่มน้ำถึงสามลุ่มน้ำด้วยกัน คือ ลุ่มน้ำยมตอนบน ลุ่มน้ำยาวตอนบน และลุ่มน้ำลาว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสายหลักของประเทศ คือ ลำน้ำยม และ ลำน้ำน่าน อันเป็นแม่น้ำสำคัญสายหลักในการประกอบอาชีพเกษตรของราษฎรริมสองลำน้ำ 

ลักษณะภูมิอากาศ 



เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดต่อปีประมาณ 8.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดต่อปีประมาณ 40.9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,211 มิลลิเมตร 

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า 



สภาพป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกินที่พบได้ คือ ป่าดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ
สัตว์ป่า จากการสำรวจพบว่าสัตว์ป่าส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึง ขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก ได้แก่ เสือ เลียงผา เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต หมาใน เหยี่ยว นกขุนทอง นกเขา และนกอื่น ๆ 
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


ทัศนียภาพสองข้างทาง 
ระหว่างอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ถึงอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จะมีทัศนียภาพที่สวยงาม อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน


น้ำตกหงษ์เวียงจันทร์ เป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดปี ประกอบน้ำตกชั้นใหญ่ ๆ 6 ชั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลยอด อำเภอสองแควอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน

น้ำตกห้วยหาด หรือน้ำตกบ้านยอด เป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดปี มีความสูงประมาณ 3 ชั้น ตั้งอยู่ที่ ตำบลยอด อำเภอสองแคว 
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน

ถ้ำหลวงสะเกิน เป็นถ้ำขนาดกลาง ตัวถ้ำลึกประมาณ 600 เมตร ในตัวถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก เป็นถ้ำที่มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ที่ ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 


   ถ้ำปลากั้ง เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีความสวยงามพอสมควร ตั้งอยู่ที่ ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 








การเดินทาง 



เดินทางจากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 (น่าน-ทุ่งช้าง) เมื่อถึงอำเภอท่าวังผา (ระยะทางช่วงนี้ประมาณ 42 กิโลเมตร) แล้วให้แยกไปทางซ้ายมือตามทางหลวงหมายเลข 1148 (ท่าวังผา-สองแคว, ระยะทางช่วงนี้ประมาณ 33 กิโลเมตร) เมื่อถึงอำเภอสองแควแล้วให้แยกไปตามทางซ้ายมือตามทางหลวง หมายเลข 1097 (สองแคว-เชียงคำ, ระยะทางช่วงนี้ประมาณ 38 กิโลเมตร) ก็จะถึงหมู่บ้านสะเกิน ตำบลยอด อำเภอสองแคว แล้วให้แยกเข้าหมู่บ้านวนไปทางขวามือผ่านหมู่บ้านไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการ อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน

การติดต่อ

  อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ตู้ ป.ณ.13 อ.ท่าวังผา จ.น่าน 55140
สัตว์ป่า จากการสำรวจพบว่าสัตว์ป่าส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึง ขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก ได้แก่ เสือ เลียงผา เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต หมาใน เหยี่ยว นกขุนทอง นกเขา และนกอื่น ๆ 
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


ทัศนียภาพสองข้างทาง ระหว่างอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ถึงอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จะมีทัศนียภาพที่สวยงาม น้ำตกหงษ์เวียงจันทร์ เป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดปี ประกอบน้ำตกชั้นใหญ่ ๆ 6 ชั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลยอด อำเภอสองแควน้ำตกห้วยหาด หรือน้ำตกบ้านยอด เป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดปี มีความสูงประมาณ 3 ชั้น ตั้งอยู่ที่ ตำบลยอด อำเภอสองแคว ถ้ำหลวงสะเกิน เป็นถ้ำขนาดกลาง ตัวถ้ำลึกประมาณ 600 เมตร ในตัวถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก เป็นถ้ำที่มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ที่ ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 
   ถ้ำปลากั้ง เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีความสวยงามพอสมควร ตั้งอยู่ที่ ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน  อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เที่ยวน่าน อุทยานน่าน แอ่วน่าน 

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน


อุทยานแห่งชาติขุนน่าน




อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 111 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน, เส้นทางไปขุนน่าน



อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง "ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน" อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา และป่าผาแดง บริเวณท้องที่ตำบลดงพญาตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน


จุดเด่นและแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกสะปัน, น้ำตกห้วยตี๋, น้ำตกบ้านเด่น, น้ำตกห้วยห้า มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เป็นน้ำตกที่มีความงามตามธรรมชาติอย่างยิ่ง 





ลักษณะภูมิประเทศ 


สภาพภูมิประเทศทั่วไปของพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่านเป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 เอ ลักษณะพื้นที่เขาสูงชันสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นเทือกเต็มพื้นที่ มีระดับความสูงตั้งแต่ 600-1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง โดยมียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในท้องที่ตำบลดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ เทือกเขาภูฟ้า เทือกเขาขุนน้ำว้าน้อย เทือกเขาน้ำว้ากลาง และเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น ไม่มีพื้นที่ที่เป็นที่ราบบนภูเขาที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่เกษตรกรรมอย่างถาวรได้ มีลำน้ำว้า อันเป็นลำน้ำสายใหญ่และสำคัญ ไหลผ่านกลางพื้นที่ในแนวทิศเหนือไหลลงทิศใต้ มีระยะทางการไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 25.5 กิโลเมตร ต้นกำเนิดของลำน้ำว้าเกิดจากเทือกผีปันน้ำบริเวณบ้านน้ำว้าในตำบลบ่อเกลือเหนือ นอกเขตพื้นที่ที่จะประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่บ้านสะปัน ตำบลดงพญา ผ่านกลางพื้นที่ไปออกพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ขุนน่าน ที่บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า ลำห้วยสำคัญที่ไหลลงน้ำว้า ได้แก่ น้ำปาด น้ำปัน ห้วยตี๋ ห้วยห้า และน้ำแปด 





ลักษณะภูมิอากาศอุทยานแห่งชาติขุนน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน, เส้นทางไปขุนน่าน

เนื่องจากพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ตั้งอยู่ในภาคเหนือพื้นที่อยู่ระหว่าง เส้นรุ้ง ที่ 02-32.5 องศาเหนือ ระหว่างเส้นแวง ที่ 27.2-48.4 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณเกือบเหนือสุดของประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นที่สูง โดยอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่จะอยู่ที่ ประมาณระหว่าง 1-7 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว และประมาณ ระหว่าง 28-33 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน และโดยที่พื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศบนพื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศพื้นที่จึงมีความบริสุทธิ์ แจ่มใส สดชื่น เกือบตลอดทั้งปี ดังนั้น พื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยเป็นสถานที่ตากอากาศ รับอากาศสดชื่น ที่ปราศจากมลพิษในอากาศเป็นเวลานานๆ 

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน, เส้นทางไปขุนน่าน




พืชพันธุ์และสัตว์ป่าอุทยานแห่งชาติขุนน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน, เส้นทางไปขุนน่าน

สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านประมาณร้อยละ 90 ปกคลุมด้วยป่าดิบเขา ส่วนที่เหลือเป็นป่าดิบชื้นและทุ่งหญ้า ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในป่าดิบเขา ได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อน้ำ ก่อตาหมู ก่อนก กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า จำปีป่า หว้า ผักกูด มอส และกล้วยไม้ดิน สำหรับป่าดิบชื้นซึ่งจะพบบริเวณริมน้ำ ริมห้วย และตามร่องเขาที่มีความชื้น พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ยาง กระบาก มะหาด มะยมป่า ไผ่บง ไผ่ฮก หวาย ตาว และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ

สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่านได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะมด หมี เม่น กระรอก กระแต ไกป่า เป็นต้น 


การเดินทาง
รถยนต์
จากอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1081 (บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ) ประมาณ 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนน่าน 

ที่ตั้งและแผนที่

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน, เส้นทางไปขุนน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน 

ต.ดงพญา อ. บ่อเกลือ จ. น่าน 55220 

โทรศัพท์ : 0 1960 5507 


ข้อมูลจาก  http://park.dnp.go.th

http://th.wikipedia.org

ผาชู้เมืองน่าน

ผาชู้ตำนานรักสะท้านล้านนา



                                
                                                          ศรีน่านตำนานสะท้านใจคน













ผาชู้เมืองน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน
ดอยผาชู้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อีกหนึ่งอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์... 




ผาชู้เมืองน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน

     ดอยผาชู้ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีลักษณะเป็นโขดหินและหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่เขียวขจีหลายแสนไร่ สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และสายน้ำของแม่น้ำน่านทอดตัวไหลคดเคี้ยวสู่ทิศใต้ยาวหลายสิบกิโลเมตร 







 จุดเด่นที่น่าสนใจของดอยผาชู้ 

     ยอดผาชู้ เป็นสถานที่ตั้งสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ต้องร้องเพลงชาติ 12 จบ กว่าจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา มีความยาวของสายธงชาติประมาณ 200 เมตร จากพื้นถึงยอดผาชู้ 











"ผาชู้"โศกนาฏกรรมรักอีกหนึ่งบท แห่งเมืองล้านนา

บริเวณเชิงผาชู้เป็นจุดที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า หากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150






คำว่า ? ชู้ ? ไม่ได้หมายถึงชู้สาว แต่หมายถึงคนรัก ซึ่งผาชู้แห่งนี้มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันมีทิวทัศน์สวยงาม และยังมีเรื่องราวเป็นตำนานในหลายเวอร์ชั่นเล่าสืบต่อกันมา       

ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรักจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่าเจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดดหน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กัน และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไปจึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไป ด้วยความรักแท้ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง (?จ๋วง? เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน ?เอื้องผึ้ง? แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ?ผาชู้? นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

ส่วนอีกตำนานหนึ่งซึ่งเป็นต้นแบบแห่งการเขียนเพลง เอื้องผึ้ง จันผา ของ อ.จรัล มโนเพ็ชร ได้มีผู้เล่าต่อกันมาว่า แต่เดิมเอื้องผึ้งและจันทร์ผานั้น เป็นคู่รักกัน ทั้งสองให้สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป ไม่พรากจากกัน ถ้าหากแม้นคนหนึ่งตายไป อีกคนหนึ่งก็ไม่ขออยู่ต่อ และแล้วโศกนาฏกรรมก็มาถึง หนุ่มจันทร์ผา พาสาวเอื้องผึ้งไปเที่ยวที่ดอย เขาเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอม งอกอยู่ที่ต้นไม้ริมผา จึงคิดจะเก็บมาให้สาวเอื้องผึ้ง คนรักของตน จึงปีนไปเก็บดอกไม้ชนิดนั้นมา แม้เอื้องผึ้งจะห้ามแต่จันทร์ผาก็ยังพยายามจะไปเด็ดดอกไม้มาให้ได้

และแล้วในที่สุดสิ่งที่เอื้องผึ้งกลัวก็เป็นความจริง จันทร์ผาพลาด ตกลงไปในเหว เลือดไหลนอง คอหัก ตายสนิท เอื้องผึ้งร่ำไห้ หัวใจแตกสลาย จึงวิ่งเอาหัวชนกับแง่หินที่หน้าผา ตายตามจันทร์ผา เหมือนที่เคยให้สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป ดอกไม้ที่จันทร์ผาพยายามจะเก็บนั้น ต่อมาคนให้ชื่อว่า ดอกเอื้องผึ้ง ส่วนที่ๆจันทร์ผาตกลงไปตาย ก็มีต้นไม้ชนิดหนึ่งงอกขึ้นมา ผู้คนกล่าวขานเรียกว่า ต้นจันทร์ผาเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ความรักที่ยั่งยืนของคนทั้งคู่ตลอดไป....   

บ้างก็เล่าว่ามีหนุ่มสาวคู่หนึ่งเกิดรักกัน โดยที่ครอบครัวของฝ่ายหญิงมีฐานะดีกว่าฝ่ายชาย จึงถูกกีดกันจากญาติของผู้ใหญ่ ด้วยความรักกัน ฝ่ายหญิงจึงมา ณ ที่แห่งนี้แล้วได้กระโดดหน้าผาฆ่าตัวตาย เมื่อฝ่ายชายทราบเรื่องจึงตามมาและได้พบศพของหญิงสาว จึงเสียใจและกระโดดหน้าผาตายตามกัน หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ผาชู้ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
      
แต่อีกบางตำนานก็ว่าเป็นเรื่องราวของบุตรสาวผู้เลอโฉมของเจ้าเมืองน่าน ไปหลงรักชายหนุ่มสามัญชนผู้ต้อยต่ำ แต่ถูกกำแพงแห่งชนชั้นขวางกั้น จึงพากันหลบหนีไป ฝ่ายเจ้าเมืองน่านจึงได้สั่งให้ทหารออกติดตามมาจนถึงหน้าผาแห่งนี้ ครั้นเมื่อจวนตัวทั้งสองหมดหนทางที่จะหนีต่อไปได้ จึงตัดสินใจกระโดดหน้าผาสูงชันลงมาสิ้นใจ เพราะไม่ต้องการพรากจากคนรัก.....ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกหน้าผาแห่งนี้ว่า ? ผาชู้ ?

และบ้างก็บอกว่า ที่มาของชื่อ ผาชู้ นั้นมาจากคำว่า ผาชูธง เนื่องจากบนยอดผานั้น มีเสาธงปักอยู่ และมีการโรยเชือกลงมาด้านล่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชักธงขึ้นสู่ยอดเสาบนผาได้ นับเป็นสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือมีความยาวถึง 200 เมตรเลยทีเดียว นอกจกนี้ที่จุดชมวิวผาชู้ ยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์และแม่น้ำน่านที่ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามที่ราบลุ่มอย่างงดงาม

ที่มา  :  amulet.in.th

http://travel.thaiza.com
http://travel.sanook.com/

อุทยานแห่งชาติศรีน่านดอยเสมอดาว

 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน


ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาของแม่น้ำน่านตอนใต้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยงวง ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี ครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 3 อำเภอ คือ ตำบลส้าน และตำบลน้ำมาบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ และตำบลสถาน อำเภอนาน้อย ตำบลบ่อแก้ว และตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ 934 ตารางกิโลเมตร หรือ 583,750 ไร่  อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน


สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ





. ดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์

ดอยเสมอดาว
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน 
เป็นพื้นที่ที่มีลานกว้างยนสันเขาเหมาะสำหรับการพักผ่อนชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ในเวลาเดียวกัน และยังสามารถชมทะเลหมอกในยามเช้า ชมดาวและแสงไฟจากตัวอำเภอนาน้อยในยามค้ำคืนได้อย่างสวยงาม ผาหัวสิงห์
เป็นหน้าผามีรูปร่างหมือนสิโตนอนหมอบหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ ได้ 360 องศา์ ทิศเหนือมองเห็นตัวอำเภอเวียงสา ทิศใต้มองเห็นทิวเขาเป็นแนวยาว ทิศตะวันออกมองเห็นผาชู้ แม่น้ำน่าน ทิศตะวันตกมองเห็นตัวอำเภอนาน้อยเกือบทั้งหมด และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง มีเส้นทาง เดินสำรวจ ธรรมชาติ ให้ผู้รักการปีนป่ายและการผจญภัยได้

 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน


 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน




ลักษณะภูมิประเทศ

• สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนานกันทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มตรงกลางจะมีลักษณะเป็นภูเขาน้อยใหญ่ลดหลั่นกันลงไป ตอนกลางของพื้นที่มีแม่น้ำน่านทอดตัวไหลผ่านจากเหนือสุด-ใต้สุด ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แบ่งอุทยานออกเป็นซีกตะวันตกและซีกตะวันออก ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยคำ สูง 1,229 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง นอกจากนี้ยังมีดอยจำลึก ดอยไหว ดอยสุไข ดอยจำปูหลวงแก้ว ดอยหวดและดอยภูหลักหมื่น เป็นต้น  อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน




ลักษณะภูมิอากาศ
• สภาพอากาศ ค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูหนาว และจะมีเมฆมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส 


พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
 

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน 
• เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงต่างกันหลายระดับ จึงทำให้มีสภาพป่าหลายชนิด เช่น


• ป่าดิบเขา พบตามแนวสันเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้ก่อต่างๆ ตะเคียน กระบาก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยพืชในตระกูลปาล์ม ขิง ข่า และเฟิร์น


• ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและริมห้วย ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก แดง เหียง


• ป่าสน พบเป็นหย่อมๆตามแนวสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 500-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล


• ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นตามที่ราบเชิงเขา ริมห้วยและหุบเขา กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้สัก ชิงชัน ประดู่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง ฯลฯ


• ป่าเต็งรัง พบขึ้นอยู่ตามไหล่เขา เชิงเขา และพื้นที่ค่อนข้างราบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง เป็นต้น


• สัตว์ป่า ที่พบมี ช้าง วัวแดง กระทิง ซึ่งสัตว์ทั้ง 3 ชนิดนี้จะอพยพข้ามไปมาในเขตติดต่อระหว่างประเทศไทยและลาว นอกจากนี้ยังมีหมี เลียงผา กวาง เก้ง เสือ หมูป่า หมาป่า กระจง อีเห็น ไก่ฟ้า ตะกวด เต่า นกยูง นกนานาชนิดและงูชนิดต่างๆ
จุดเด่นที่น่าสนใจ


• เสาดินและคอกเสือ เกิดจากการพังทลายของดินเป็นพื้นที่กว้างประมาณ 20 ไร่ กระจัดกระจายไปตามสภาพพื้นที่ โดยมีป่าเต็งรังขึ้นอยู่ประปราย ลักษณะของเสาดินคล้ายแกรนด์แคนยอน เหมือนกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ เสาดินและคอกเสือตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ไปตามเส้นทาง เวียงสา-นาน้อย ประมาณ 5 กิโลเมตร


• ปากนาย เกิดจากสภาพป่าที่ถูกน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ท่วมถึง มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืดอาศัยอยู่ สภาพทิวทัศน์สวยงามมากแห่งหนึ่ง ระยะทางเข้าจากกิ่งอำเภอนาหมื่นไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีบ้านพักของอบต.นาหมื่นและแพพักของเอกชน รวมทั้งร้านอาหารกลางแพ มีปลาสดๆ กุ้งแม่น้ำ จากเขื่อนสิริกิตติ์ ท่านสามารถสั่งมาทานกันได้


• แก่งหลวง เกิดจากแนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่าน รวมทั้งโขดหินและหน้าผา ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำกระทบโขดหินดังกึกก้อง ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวโขดหินอย่างสวยงาม การเดินทางให้ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 (นาน้อย-ปางไฮ) จากปากทางถึงแก่งหลวงประมาณ 35 กิโลเมตร


• จุดชมวิวผาชู้ เป็นจุดชมวิวที่ติดกับถนนที่เป็นหน้าผาใหญ่โดดเด่น สามารถมองเห็นทิวทัศน์และแม่น้ำน่านที่ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามที่ราบลุ่มอย่างงดงาม การเดินทางให้ไปตามเส้นทางเดียวกับทางไปแก่งหลวง แต่ถึงก่อนแก่งหลวง จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำน่านและสภาพป่าไม้ที่สวยงามตลอดจนโขดหินและหน้าผาต่างๆ


• จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ เป็นจุดที่ชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ซึ่งท่านสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง เห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำน่านที่ทอดยาวในหุบเขาและเห็นยอดผาชู้ที่ตั้งตระหง่านอยู่ข้างหน้ารวมทั้งมองเห็นบ้านพักและที่ทำการอุทยานฯ ในตอนเย็นท่านสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกได้ด้วยและสามารถมองเห็นตัวเมืองนาน้อย ไร่ นา ของชาวบ้าน (สวยครับ)


• เส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณดอยเสมอดาวมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมกัน บรรยากาศสวยงาม


• ตำนานผาชู้ เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรัก จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่า เจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดด หน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กันและเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดด หน้าผาไป จึงรู้สึก เสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไปด้วยความรักแท้ ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสนณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ( “จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 







การเดินทาง
 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน 
• จากกรุงเทพฯ ถึงแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปจนถึงอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามถนนแก้วฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอเวียงสา ไปอำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปตามถนนสายนาน้อย-ปางไฮทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปอีกประมาณ 22 กิโลเมตร จนถึง ผาชู้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน


สิ่งอำนวยความสะดวก

 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน
• มีบ้านพักจำนวน 4 หลัง พักได้ประมาณ 60 ท่าน มีสถานที่กางเต้นบริเวณดอยเสมอดาวและที่ทำการอุทยานฯที่ผาชู้

การติดต่อ

 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน,ดอยเสมอดาว,อุทยานน่าน
• สอบถามรายละเอียด ได้ที่ กรุงเทพฯ กรมป่าไม้  โทร. 0 2562 0760 หรือ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150




ขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.hamanan.com/tour/tour/dsmd.html

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา(ชมพูภูคา)



    สวัสดีครับคนหลงทาง ไหนๆก็หลงมา  blog นี้แล้วแวะอ่านแวะดูเล่นหน่อยล่ะกันเน้อ

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา(ชมพูภูคา)


           พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน  พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็ยยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1 A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย




 เจ้าหลวงภูคา



เล่าหื้อฟังหรือโม้เหียสักน้อยก่อน(เล่าให้ฟังสักนิดก่อน)


อาทิตย์ดับ      ลับทิวไม้     ที่ชายป่า

ดวงจันทรา      แจ่มกระจ่าง     สว่างใส

วันนั้นสุข        วันนี้เศร้า      คละเคล้าไป

หมุนเวียนไป     เป็นเช่นนี้      ตราบนิรันดร์


        
ดอยภูคา  ที่นี่ก็เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งหลายที่ชื่นชอบธรรมชาติ  และมีความสวยงามอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้กับที่อื่นและเป็นอุทยานที่ขึ้นชื่อของเมืองน่านเลยก็ว่าได้ครับ  จุดเด่นก็คือ  ดอกชมพูภูคาที่มีแห่งเดียวในโลก มีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ และตามที่อุทยานต่างๆก็เริ่มปลูกกันไว้บ้างแล้ว  ครับ




             ครั้งตอนที่ผมไปเที่ยว  ก็หลายปีมาแล้วครับสมัยที่ผมยังเรียนอยู่ในจังหวัดล่ะครับ ถนนหนทางก็สะดวกดีน่ะครับ  เพราะว่าเป็นทางผ่านไปอำเภอบ่อเกลือ และ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  2อำเภอนี้ไม่ค่อยจะมีพื้นที่ราบสักเท่าไหร่ครับ  ขนาดตัวอำเภอยังอยู่เชิงเขาเลย  ถนนหนทางก็อย่างว่าล่ะครับมีทั้งดินสไลส์ หินร่วงลงมาขวางถนนบ้าง ก็ตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในแต่ล่ะปีล่ะครับ 



            มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมไปอำเภอบ่อเกลือ (ช่วงนั้นไปบ่อยเหมือนกันน่ะครับ) ผมไปออกหน่วยศูนย์ช่อมสร้างเพื่อชุมชนอำเภอบ่อเกลือไปนอนค้างคืนอยู่ที่นั้นทุกๆ เสาร์อาทิตย์  ไปหลายอาทิตย์อยู่เหมือนกัน ก็อย่างว่าล่ะครับขึ้นไปแบบเป็นทางการ  เขาก็ต้อนรับเราดีหน่อย เพราะเราไปสร้างฟรีซ่อมฟรีให้เขานะครับ  หลังจากนั้นแหละครับเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าเอามาให้ซ่อมกันเยอะเลย  ซ่อมได้บ้าง ซ่อมไม่ได้บ้าง งูๆปลาๆไปงั้นแหละครับ  ตอนนั้นความรู้ก็ยังน้อยอยู่เลย  ถ้าซ่อมไม่ได้ ก็แกล้งบอกว่าอะไหล่ไม่มีครับ หรือไม่ก็ ไม่ได้เอาอะไหล่มาด้วยครับ ( แฮ่ะๆเอาตัวรอดไปก่อนล่ะกัน)   มีอยู่เหตุการณ์หนึ่ง ลุงเขาเอาเครื่องเสียงมาให้ช่อม มาถึงปุ๊บผมก็จัดการถอดส่วนประกอบออกเองเลย ลุงเขาก็นั่งเฝ้าดูน่ะครับไม่ไปไหนเลย ไอ้เราก็กดดันเพราะเจ้าของเขามานั่งเฝ้าด้วยนี้สิ  ผมก็เริ่มซ่อมไปเรื่อยๆ กึ่งลองกึ่งมั่ว ไม่รู้อะไรมันเสีย   และแล้วก็มาถึงตอนลองเครื่องเสียงนี้แหละครับ ก็ใช้เพื่อนให้ไปเอาปลั๊กไฟมาให้ แล้วให้เพื่อนเสียบปลั๊กเครื่องเสียงให้ด้วย  เท่านั้นแหละครับ ทั้งควัญกลิ่นและเสียงออกมาพร้อมกันหมดเลย สีหน้าผมของตอนนั้นกับลุงเจ้าของเครื่องเสียงนั้น  ไม่หนีกันเลยครับ     


ดอกชมพูภูคา


         
   การเป็นอยู่ของคนแถวนั้นก็อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง   คำว่า  อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง ในความหมายของผมนั้นหรอครับ คือ พวกเรา(ขอใช้คำว่าพวกเราน่ะครับ  เพราะบ้านผมก็อยู่ป่าเหมือนกันแต่ก็ยังใกล้ตัวอำเภอหน่อย  แต่การเป็นอยู่ก็คล้ายๆกันล่ะครับ)  ก็เหมือนตัดจากโลกภายนอก คือ ไม่ต้องวิ่งตามใคร ไม่ต้องแย่งใคร  มีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น อยู่อย่างพอเพียงตามพระราชดำริของในหลวง  ขนาดหินที่เขาใช้ผสมปูนสร้างบ้านก็ยังไปเก็บที่แม่น้ำเลยครับ (ตอน 8ปี ที่แล้วน่ะครับตอนนี้ก็คงมีรถวิ่งเข้าไปส่งแล้วล่ะ) กลางวันกลางคืนก็เงียบสงบ 
   





ชมพูภูคา, อุทยานดอยภูคา, ดอยภูคา, เที่ยวน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา 



         ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริมและอำเภอบ่อเกลือ มีพื้นที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่มีทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว ลำน้ำว้า ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดน่าน และยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เป็นที่เชื่อกันว่าเทือกเขาดอยภูคาเป็นเมืองเก่าของบรรพบุรุษของคนเมืองน่านและในปัจจุบันนี้ก็ยังมีศาลเจ้าพ่อภูคา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายปัง-บ่อเกลือ อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดน่านและบุคคลทั่วไป

• ปี พ.ศ.2526 ราษฎรของ จ.น่าน ได้เห็นความสำคัญที่จะอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลาย จึงได้มีหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้กำหนดป่าดอยภูคา อ.ปัว ให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแนวเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2542 อีกทั้งภายในบริเวณพื้นที่ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย อาทิ ถ้ำ น้ำตก ล่องแก่งต่างๆและต้นชมพูภูคา ซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนทั้งประเทศและต่างประเทศ







จุดเด่นที่น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา

1. ต้นชมพูภูคา
เป็นพรรณไม้ที่มีชนิดเดียวในโลก ในประเทศไทยพบเพียงที่เดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ต้นชมพูภูคา เป็นไม้ยืน ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เปลือกเรียบ สีเทาอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

2.เต่าร้างยักษ์ (เต่าร้างน่านเจ้า)
เป็นไม้เฉพาะถิ่นของดอยภูคา จัดเป็นประเภทปาล์มลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 40 เมตร ยังไม่มีรายงานว่าพบที่ใด ในโลก 

3. ก่วมภูคา

เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย จัดเป็นไม้ผลัดใบ พืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ล ลำต้นสูงประมาณ 15 - 20 เมตร ใบอ่อนสีแดงเว้า 5 แฉก ใบแก่สีเขียว 3 แฉก นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้หายาก อาทิ จำปีช้าง ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาลี่หนุ่ม เหลือละมุน กุหลาบขาว เชียงดาว ฯลฯ

4. ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้ง
เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยอันความสวยงามและยังมีลำธาร น้ำตกภายในถ้ำด้วยเป็นถ้ำที่ยาวมากที่สุดใน อุทยานฯ ตั้งอยู่ในบริเวบ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง (อ่านรายละเอียดในบ้านมณีพฤกษ์)

5. ถ้ำผาฆ้อง
เป็นถ้ำขนาดกลาง ปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามและลำธารไหลผ่านใน ช่วงฤดูฝน ไม่สามารถเข้าไปเที่ยวได้เพราะภายในถ้ำอาจมีน้ำท่วม อย่ระหว่างทางขึ้นอุทยานฯ

6. น้ำตกต้นตอง

เป็นน้ำตกหินปูน ขนาดกลาง มี 3 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร อยู่บริเวณใกล้ๆที่ทำการอุทยานฯ

7. น้ำตกวังเปียน
อยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่ 8 (บ้านห้วยโกร๋น) เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 

8.จุดชมวิวลานดูดาว
เป็นจุดกางเต้นท์พักแรมและชมทะเลหมอกยามเช้า ซึ่งท่านสามารถชมวิวทิวทัศน์ของขุนเขา

9. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 
บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมพันธุ์ไม้ บรรยากาศสวยครับ 

10. ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง 
ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งน้ำว้าระดับ 3 - 5 ประมาณ 20 กว่าแก่ง ต้องใช้เวลากับการ พักแรม กลางป่าระหว่างการล่องแก่งด้วย ซึ่งลำน้ำว้าเกิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานขุนน่าน ไหลผ่านพื้นที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ผ่านอุทยานแห่งชาติแม่จริม ก่อนที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำน่าน

11. ดอยภูแว 

เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ยอดดอยมีความสูง 1,837 เมตรจากระดับ น้ำทะเล มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ลานหิน หน้าผา และพันธุ์ไม้ที่สำคัญ อาทิ ดอกกุหลาบพันปี ค้อ ทุ่งดอกไม้ เป็น สถานที่ ชมวิวทิวทัศน์และทะเลหมอกอันสวยงาม การเดินทางสู่ดอยภูแวต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร มีลูกหาบไว้คอยบริการ

ชมพูภูคา, อุทยานดอยภูคา, ดอยภูคา, เที่ยวน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน
by จันผา    รูปอ้างอิงมาจากที่อื่นน่ะครับ     ไว้กลับบ้านจะแวะไปถ่ายรูปมาฝากครับ

ชมพูภูคา, อุทยานดอยภูคา, ดอยภูคา, เที่ยวน่าน, อุทยานจังหวัดน่าน

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดอยวาว หรือ อุทยานนันทบุรี



อุทยานแห่งชาตินันทบุรี หรือ ฮ้องว่าดอยวาวครับภาษาเหนือ
จังหวัดน่าน

ดอยวาว, อุทยานแห่งชาตินันทบุรี, แอ่วดอยวาว, แอ่วน่าน, 


 ....ธรรมชาติมอบความรักและสิ่งที่สวยงาม ให้
 เก็บเกี่ยวความรู้สึกดีๆไว้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เดินหน้าต่อไป
ไปสู่สิ่งสวยงามที่รอเราอยู่   ของดีมีอยู่ตางหน้าเสมอเน้อหมู่เฮา....




        มีอุทยานแนะนำครับ     อุทยานแห่งชาตินันทบุรี   หรือ ดอยวาว เป็นที่คุ้นปากของคนแถวนั้น(บ้านผมเองเพราะก่อนขึ้นอุทยานต้องผ่านบ้านผมก่อน)   อุทยานแห่งนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักกันมากเท่าไหร่ครับ เพราะทางขึ้นไปก็ยากลำบากเต็มทน ตอนที่ผมกลับบ้านช่วงหน้าฝนผมเลยแวะเข้าไปดูโอ้โห้ตอนลงมาเนี้ยหายใจไม่ทั่วท้องเลย               ฝนก็ตก       ดีน่ะที่ไปคนเยอะช่วยกันเข็นรถเลยน่ะครับ  
       
       อุทยานแห่งชาตินันทบุรี     ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 8.4 องศาเซลเซียส สูงสุด 40.8 องศาเซลเซียส เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือ ผีตองเหลืองสถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ดอยผาจิ ดอยวาว น้ำตกสันติสุข น้ำตกสองแคว น้ำตกห้วยพริก น้ำตกตาดฟ้าร้อง น้ำตกดอยหมอก และน้ำพุร้อน
ดอยวาว, อุทยานแห่งชาตินันทบุรี, แอ่วดอยวาว, แอ่วน่าน, 



ลักษณะภูมิประเทศ

           อุทยาน แห่งชาตินันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อทิศเหนือจดเขตอำเภอสองแคว จังหวัดน่านและเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา ทิศใต้จดเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ทิศตะวันออก จดทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 ( น่าน-ทุ่งช้าง) ทิศตะวันตก จดเขตอำเภอเชียงม่วง จังหวัด พะเยา เขตพื้นที่สำรวจจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ดอยภูนาง และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จังหวัดพะเยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดน่าน จนไปจดประเทศลาว ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300-1,710 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ “ยอดดอยวาว” ความสูง 1,710 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะของหิน ส่วนใหญ่เป็นหินที่เกิดในมหายุค Mesozoic Paleozoic และ Neozoic ซึ่งส่วนใหญ่คือ หินตะกอน มีอายุอยู่ในหลายช่วงอายุด้วยกัน นอกจากนี้เป็นหินภูเขาไฟ และหินก่อนหินภูเขาไฟบ้างประปรายกระจายในพื้นที่ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสายซึ่งเป็นลำห้วยที่คอยหล่อเลี้ยงลำน้ำน่าน และลำน้ำยม ได้แก่ ลำน้ำสมุน ลำน้ำสะเนียน ลำน้ำวาว ลำน้ำยาว ลำน้ำพี้ ลำน้ำตึม ลำน้ำสีพัน ลำน้ำไสล ลำน้ำระพี และลำน้ำคาง เป็นต้น


ดอยผาจ้าง(ผาช้าง)ครับ

เพราะว่าเวลาเรายืนอยู่บนอุทยานยามเย็นๆตอนพระอาทิตย์ตก จะเห็นเขา 2 ลูก มีรูปเหมือนช้างทำท่าจะชนกันอยู่เขาเลยเรียกว่าผาช้าง 


ที่นั่งรอบกองไฟตอนสิ้นปีครับ

         และลานกางเต้นตอนสิ้นปีครับคนกรุงเทพมักจะขึ้นไปเที่ยวจำนวนมาก  เพราะว่าเวลารถขึ้นไปเที่ยวจะผ่านหน้าบ้านเพื่อนผม และผมก็นั่งสังสรรค์กันอยู่ลานหน้าบ้าน อากาศหนาวๆ หมอกเย็นๆ กีต้าสักตัว โอ้ยสวรรค์เลยล่ะครับ  บรรยากาศแบบนี้ หาชื้อในกทม.ไม่ได้อีกแล้ว   ลืมบอกไปว่า ทางอุทยานเขามีเต้นให้เช่าด้วยน่ะครับ      


ดอกซากุระเมืองไทย(พญาเสือโคร่งเน้อ)

ต้องไปตอนเดือนมกราคมครับก็ช่วงหน้าหนาวนั้นล่ะครับอะไรก็สวยงามไปหมด  อากาศก็สดชื่น ต้นไม้ออกดอกกันเต็มไปหมดสวยมากเน้อ


by  จันผา   รูปอ้างอิงจากที่อื่น ไว้กลับบ้านจะถ่ายรูปมาฝากใหม่น่ะครับ



ดอยวาว, อุทยานแห่งชาตินันทบุรี, แอ่วดอยวาว, แอ่วน่าน,